เมนู

บอกกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล ท่านจงเจริญอานาปานสติเถิด ด้วยว่า
อานาปานสติภาวนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์
มาก. ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระราหุลออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อานาปานสติ
อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงจะมีผลมาก มีอานิสงส์
มาก.

ธาตุ 5


[135] ดูก่อนราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นภายใน อาศัยตน
เป็นของหยาบ มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ผม
ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด
ไต ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
อย่างอื่นเป็นภายใน อาศัยตน เป็นของหยาบ มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรม
และกิเลสเข้าไปยึดมั่น อาศัยตน เป็นของหยาบ มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรม
ก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด ปฐวีธาตุนั้น ก็เป็นปฐวีธาตุเหมือนกัน ปฐวีธาตุ
นั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้ เพราะบุคคลเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วย
ปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ จิตย่อมคลาย
กำหนัดในปฐวีธาตุ.
[136] ดูก่อนราหุล ก็อาโปธาตุเป็นไฉน อาโปธาตุเป็นภายในก็มี
เป็นภายนอกก็มี ก็อาโปธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน
เป็นอาโป มีลักษณะเอิบอาบ อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ดี เสลด

หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน เป็นอาโป มีลักษณะเอิบอาบ
อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าอาโปธาตุเป็นภายใน ก็อาโปธาตุ
เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด อาโปธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญา
อันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตน
ของเรา ดังนี้ เพราะบุคคลเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง
อย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในอาโปธาตุ.
[137] ดูก่อนราหุล ก็เตโชธาตุเป็นไฉน เตโชธาตุเป็นภายในก็มี
เป็นภายนอกก็มี ก็เตโชธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัย
ตน เป็นเตโช มีลักษณะร้อน อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ไฟที่ยัง
กายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย และ
ไฟที่เผาอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ให้ย่อยไปโดยชอบ หรือสิ่งใดสิ่ง
หนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน เป็นเตโช มีลักษณะร้อน อันกรรม
และกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าเตโชธาตุ เป็นภายใน. ก็เตโชธาตุเป็น
ภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด เตโชธาตุนั้นเป็นเตโชธาตุเหมือนกัน
เตโชธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่
ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้ เพราะบุคคลเห็นเตโช-
ธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ
จิตย่อมคลายกำหนัดในเตโชธาตุ.
[138] ดูก่อนราหุล วาโยธาตุเป็นไฉน วาโยธาตุเป็นภายในก็มี
เป็นภายนอกก็มี ก็วาโยธาตุเป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน
เป็นวาโย มีลักษณะพัดไปมา อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ลมพัด

ขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะ
น้อยใหญ่ ลมหายใจ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน
เป็นวาโย พัดไปมา อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่า วาโยธาตุ
เป็นภายใน ก็วาโยธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด วาโยธาตุนั้น
เป็นวาโยธาตุเหมือนกัน วาโยธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็น
จริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
เพราะบุคคลเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อม
เบื่อหน่ายในวาโยธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในวาโยธาตุ.
[139] ดูก่อนราหุล ก็อากาศธาตุเป็นไฉน อากาศธาตุเป็นภายใน
ก็มี เป็นภายนอกก็มี อากาศธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน
อาศัยตน เป็นอากาศ มีลักษณะว่าง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ
ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องคอสำหรับกลืนอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว
ที่ลิ้ม ช่องท้องสำหรับเก็บอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และช่องสำหรับ
ถ่ายอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ออกเบื้องล่าง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่าง
อื่น เป็นภายใน อาศัยตน เป็นอากาศ มีลักษณะว่าง ไม่ทึบ มีลักษณะ
ไม่ทึบ เป็นช่อง มีลักษณะเป็นช่อง อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง เป็นภายใน
อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าอากาศธาตุ เป็นภายใน ก็อากาศ
ธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด อากาศธาตุนั้น เป็นอากาศธาตุ
เหมือนกัน อากาศธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้
ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้ เพราะบุคคล
เห็นอากาศธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่าย
ในอากาศธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในอากาศธาตุ.

ภาวนาเสมอด้วยธาตุ 5


[140] ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญภาวนา [อบรมจิต] เสมอด้วย
แผ่นดินเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่
ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้ ดูก่อนราหุล
เปรียบเหมือนคนทั้งหลายทั้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง
น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงที่แผ่นดิน แผ่นดินจะอึดอัดหรือ
ระอา หรือเกลียดด้วยของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วย
แผ่นดินฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอัน
เป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
[141] ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำเถิด เพราะเมื่อ
เธอเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิด
ขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้ ดูก่อนราหุล เปรียบเหมือนคนทั้งหลายล้างของ
สะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง
เลือดบ้าง ลงในน้ำ น้ำจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดด้วยของนั้นก็หาไม่
ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำ ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา
เสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่
ครอบงำจิตได้.
[142] ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟเถิด เพราะ
เมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่
เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้ ดูก่อนราหุล เปรียบเหมือนไฟย่อมเผาของ
สะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง นำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง
เลือดบ้าง ไฟจะอืดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจง